Concepts of Algorithm, Flow Chart & C Programming by Prof. Wongmulin

Concepts of Algorithm, Flow Chart & C Programming by Prof. Wongmulin | Dept. of Computer Science Garden City College-Bangalore

วันเสียในภาคเหนือ

วันเสีย คือ วันที่ไม่ดีไม่เป็นศิริมงคล
เป็นวันที่ควรเว้นแต่ละเดือนจะมีวันเสียประจำวันตายตัวแน่นอนอยู่ดังนี้

เดือน = เกี๋ยง , ห้า , เก้า
เดือน = ยี่ , หก , สิบ
เดือน = สี่ , แปด , สิบสอง
เดือน = สาม , เจ็ด , สิบเอ็ด

ระวิจันตัง เสียวันอาทิตย์
อาการัง เสียวันอังคาร
สุโขพุทธา เสียวันพุธ กับวันศุกร์
โสรีกุรุ เสียวันพฤหัสบดี กับวันเสาร์

 

ยังไม่หมดจ้า…..ยังมีอีกนะจะบอกให้

 

ที่แน่ ๆ รู้มั้ยว่า ยังมีวันจม วันฟู อีกนะ วันจม วันฟู ก็เป็นวันกระด้างประจำเดือน
วันจมเป็นวันควรเว้น ส่วนวันฟูเป็นวันดีเจ้า

การเรียนรู้แบบใหม่

Learn21

 ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง

ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง “ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21

หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21      ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ 4 C (Critical Thinking – การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่

       แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร และคุณลักษณะที่เด็กและเยาวชนพึงมีในโลกยุคใหม่คืออย่างไร คลิกเพื่ออ่านที่นี่

นอกจากนี้อีกคนหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือ เซอร์เคน โรบินสันนักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นยำ้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป  ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  (Changing Education Paradigms) โดย เซอร์เคน โรบินสัน 

กรอบแนวคิดข้างต้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่ในประเทศไทยและท่านที่ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันได้แก่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช โดยท่านได้เขียนลงบล็อก  http://www.gotoknow.org อยู่เป็นประจำ รวมถึงได้เขียนหนังสือออกมาชื่อว่า

วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21

(สามารถดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf)

กลับมาแล้วค่ะ

ครูนุช

หลังจากที่ห่างหายไปนานกับ  http://www.khunkrunuch.wordpress.com/  วันนี้ได้มีโอกาสมาเคาะบัดฝุ่นเว็บบล็อกของครูนุชอีกครั้งหนึ่ง เพราะต้องพานักเรียนสร้าง เว็บบล็อกเลยนึกถึง http://www.wordpress.com  แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักเรียน  มันคงเป็นสิ่งที่ดี  ถ้าวันนี้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ครูนุชได้สอนมาในปีการศึกษา 2555 นี้ จะได้มีสมุดบันทึกในรูปแบบของสื่ออนไลน์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้ให้จดจำในโลกแห่งการเรียนรู้ต่อไป รวมถึงนักเรียนจะได้ใช้ Social Network ที่นักเรียนใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์มากขึ้น   และที่สำคัญความรู้เหล่านี้จะติดอยู่กับนักเรียนตลอดไป

แต่นี้ต่อไปนักเรียนสามารถติดตามครูนุชได้ทั้งทาง http://www.khunkrunuch.wordpress.com/หรือทาง  Fanpage ที่ https://www.facebook.com/KhunkhruNuch หรือบน https://www.facebook.com/khunkrunuch  นะคะ  รับรองว่าเราจะมีความรู้และสิ่งดีๆมาแบ่งบันค่ะ

การเขียนเว็บเพ็จด้วยภาษา HTML

ภาษา HTML เป็นภาษาแรกที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อให้ข้อมูลที่เขียนไปแสดงผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะของข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เรามาศึกษาเรื่องการสร้างเว็บเพ็จพด้วยภาษา HTML กันเลยนะคะ

HTML ย่อมาจากคำว่า “HyperText Markup Language” เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ที่แสดงผลในลักษณะของเว็บเพจ ซึ่งสามารถแสดงผลได้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าเป็นภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ

ภาษา HTML เป็นภาษาที่มีลักษณะของโค้ด กล่าวคือ จะเป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษรในมาตรฐานของรหัสแอสกี (ASCII Code) โดยเขียนอยู่ในรูปแบบของเอกสารข้อความ จึงสามารถกำหนดรูปแบบและโครงสร้างได้ง่าย

การสร้างเว็บเพจ

เราสามารถสร้างเว็บเพจได้ 2 ทาง คือ

1. TextEditor โดยเราต้องรู้คำสั่งของภาษา HTML แล้วพิมพ์โปรแกรมเข้าไปทางTextEditor เช่น Notepad เป็นต้น
2.ตัวช่วยสร้าง โดยใช้โปรแกรมที่มีความสามารถในการสร้างเว็บเพจโดยเราไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML เพราะโปรแกรมเหล่านี้จะทำการแปลงให้เราอัตโนมัติ

ขั้นตอนในการสร้างเว็บเพจ

1. เปิดโปรแกรม TextEditor แล้วทำการพิมพ์คำสั่ง HTML แล้วเซฟเป็นไฟล์นามสกุล .htm หรือ .html
2. เปิดโปรแกรม WebBrowser เพื่อใช้ในการดูผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนภาษา HTML จากที่ได้เขียนจาก TextEditor

โครงสร้างภาษา HTML

การเขียนภาษา HTML นั้นมีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเนื้อหา และส่วนที่เป็นคำสั่ง ส่วนที่เป็นคำสั่งนั้นจะอยู่ในรูปของ Tag ซึ่งจะเขียนอยู่ในเครื่องหมาย มากกว่า และ น้อยกว่า < > แต่ละ Tag มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะกล่าวในบทต่อไป

Tag แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

แท็กเดี่ยว คือ คำสั่งที่มีคำสั่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งสามารถใช้และสิ้นสุดคำสั่งได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น
ข้อความ…. <br>
<hr>
<! – ข้อความ – >

แท็กคู่ คือ คำสั่งที่ต้องมีส่วนเริ่มต้นและส่วนจุดจบของคำสั่งนั้นๆ โดยแท็กที่เป็นส่วนจบนั้นจะมีเครื่องหมาย slash / ติดเอาไว้ เช่น
<html> ส่วนของเนื้อหา ….. </html>
<center> ข้อความ….. </center>
<p> ข้อความ…. </p>

 

*** ถ้าหากมีการใช้แท็กคู่หลายๆ คำสั่ง เช่น คำสั่งตัวขีดเส้นใต้ <U> …. </U> และตามด้วย คำสั่ง ตัวเอียง <I>….</I> จะต้องปิดคำสั่งตัวเอียงก่อน แล้วจึงจะมาปิดคำสั่งตัวหนา***

<I> U> ข้อความ…. </U> </I>